วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค


ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้ วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น 

1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน 
            ความหมายของแท็บเล็ต
คือ แผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆ โดยการเขียนซึ่งมีมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่มีการปรับใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ ซึ่งจะมีหลายบริษัทที่ได้ให้คำนิยามหรือการเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไป เช่น แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) และ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ (Tablet)
            ความเป็นมาของแท็บเล็ต
          จากการศึกษาวิเคราะห์ในเชิงประวัติศาสตร์มีข้อสันนิษฐานและกล่าวกันมาว่าแท็บเล็ตในยุคประวัติศาสตร์ได้เริ่มต้นจากการที่มนุษย์ได้คิดค้นเครื่องมือสำหรับการพิมพ์หรือบันทึกข้อมูลจากแผ่นเยื่อไม้ที่เคลือบด้วยขี้ผึ้งบนแผ่นไม้ในลักษณะของการเคลือบประกบกัน 2 ด้าน ใช้ประโยชน์ในการบันทึกอักขระข้อมูล หรือการพิมพ์ภาพ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนจากบันทึกของซิเซโร ชาวโรมัน
            แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
          การใช้แท็บเล็ตโดยให้ผู้เรียนและผู้สอนมีแท็บเล็ตเป็นของตนเองเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพบว่าการใช้แท็บเล้ตจะเป็นแรงจูงใจของผุ้เรียนและมีผลกระทบในทางบวก ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าและเข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง  สำหรับในด้านการจัดการเรียนการสอนนั้น การใช้แท็บเล็ตนั้นช่วยส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรหรือการจัดการเรียนการสอนที่มีเทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบ
            เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตนับได้ว่าเป็นสื่อกระแสหลักที่กำลังมาแรงในสังคมยุคออนไลน์หรือสังคมสาระสนเทศระบบเปิดในปัจจุบัน เป็นสื่อที่นำมาใช้ในทุกกลุ่มอาชีพรวมทั้งการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งาน อย่างไรก็ตามนวัตกรรมและเทคโนโลยีตามกระแสสังคมจะต้องมีการวางแผนและปรับปรุงอย่างรอบคอบเพื่อให้บรรลุผลสูงสุดในการปฏิบัติ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องในการใช้สื่อแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาจะต้องวิเคราะห์รายละเอียดและกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการปรับใช้กับผู้เรียน และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือผู้สอน คือ ครู ที่จะต้องมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์

 2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคม เมื่อ เดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้งจนปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ
สำหรับประเทศไทยกับการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียน ก็จะช่วยในเรื่องของเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจที่ขึ้น มาการแลกเปลี่ยนกลไกทางการค้าระหว่างประเทศ มีการแลกเปลี่ยนกันทางวัฒนธรรมและทางสังคม ส่งเสริมความมีสันติภาพและความมั่นคงต่อกัน เมื่อประเทศมีความมั่นคงทำให้ประเทศอื่นมีความเชื่อมั่นและกล้าที่จะมาลงทุนในประเทศไทย เมื่อมีประเทศอื่นเข้ามาลงทุนมาก็จะทำให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวดีขึ้น
สำหรับการเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา คือ ก่อนอื่นเราจะต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องของภาษาเราจะต้องฝึกพูดภาษาที่ใช้กันในอาเซียนเพื่อที่จะได้เปรียบในการทำงาน และครูจะต้องมีความรู้ ความสามารถ จะต้องเป็นคนที่รู้ลึก รู้จริง เพราะต่อไปนี้พอมีอาเซียนเข้ามาจะมีบุคคลจากภายนอกเข้ามาทำงาน เข้ามาเป็นคู่แข่งกับเรา ดังนั้นการเตรียมตัวก็ควรจะเตรียมตัวทั้งแต่แรกเริ่มเพื่อความสบายในวันข้างหน้า
3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
"การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน  เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน(นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"
บุคคลนั้นต้องมีความรู้ความสามารถ ใช้ปัญญาชี้นำและเป็นต้นแบบที่ดีด้านการศึกษาแก่ผู้อื่นหรือสังคมโดยสภาพหรือลักษณะที่แสดงออกของผู้นำนั้นจะต้องแสดงออกทั้งลักษณะทางกาย ทางอารมณ์ ทางสังคมและมนุษยสัมพันธ์ เป็นต้น 
 บทบาทของผู้นำทางการศึกษา
จะต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษาหารือในสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม เป็นผู้นำทางปัญญา  และเป็นผู้จูงใจผู้อื่นให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นแบบอย่างที่ของนักเรียนดี  ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน บทบาทในการเป็นบุคคลที่มีความรอบรู้ เฉลียวฉลาด อารมณ์มั่นคง มีความฉลาด มีอารมณ์ดี และมีคุณธรรมและจริยธรรมสูง
           ผู้นำที่ดีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ด้านคือ
ศรัทธา ความไว้วางใจ สร้างแรงบันดาลใจ    ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล
ผู้นำทางการเรียนการสอนควรมีพฤติกรรม  ดังนี้คือ  ควรหาความรู้และข้อมูลอยู่เกี่ยวกับเด็กอยู่ตลอดเวลาตลอดเวลา  และอยู่กับเหตุการณ์ที่ทันสมัยตามทันโลกปัจจุบันเด็กควรมีการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำและควรมีการให้เด็กแสดงความคิด  มีการเชิญวิทยากรมาบรรยายให้เด็กฟังด้วย
4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า      

       ในการเรียนรู้โดยใช้บล็อกฉันมีวิธีการเรียนรู้โดยการที่ เริ่มแรกศึกษาจากอาจารย์ผู้สอนก่อน เมื่อเริ่มที่จะรู้ว่าการทำบล็อกทำอย่างไร ก็ลงมือทำและฝึกทำไปเรื่อยๆจนเกิดการเรียนรู้   ถ้าหากจะเรียนรู้โดนใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอการที่จะเรียนรู้ก็จะมากขึ้นเพราะเทคโนโลยียังมีการพัฒนาต่อไปเรื่อย ทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น และความรู้ที่เราใส่ลงไปในบล็อกก็ยังคงอยู่ เมื่อถึงเวลาที่เราอยากทราบเราก็สามารถกลับมาดูได้อีก  ในการเรียนวิชานี้ฉันจึงอยากได้คะแนนที่ดี  และอยากได้  เกรด A  เพราะ
1. ฉันมีความพยายามในการเรียนวิชานี้เป็นอย่างมาก    เนื่องจากวิชานี้เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการในชั้นเรียน   ซึ่งต่อไปในอนาคตเราจะต้องไปเป็นครูจำเป็นจะต้องรู้เรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว ดังนั้นฉันจึงพยายามหาความรู้ให้ได้มากที่สุด โดยการตั้งใจทำบล็อกและนำเนื้อหาใส่ลงไปในบล็อกตามกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง   เผื่อต่อไปในอนาคตจะได้นำความรู้ที่ใส่ลงในบล็อกกลับมาดูได้อีกครั้ง
2. ฉันเข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาด 
3. ฉันทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
4. ฉันทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น   โดยการค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต   และนำข้อมูลที่ได้มาประกอบความคิดเห็นของตัวเองจนได้คำตอบออกมาใส่ลงในบล็อก
5. สิ่งที่ฉันตอบมาเป็นความสัตย์จริง   เพราะฉันมีความตั้งใจในการทำงาน   ใช้ความคิดเห็นของตนเองประกอบกับข้อมูลที่หามาได้จากอินเตอร์เน็ตในการตอบคำถามตามกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง   มาเรียนตรงตามเวลา   ไม่เคยขาดเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9

                                                                                                 
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน
การจัดโต๊ะเรียนและเก้าอี้ของนักเรียน
1.ให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน
2. ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว
3. ให้มีความสะดวกต่อการทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายเปลี่ยนรูปแบบที่นั่งเรียน
4. ให้มีรูปแบบที่ไม่จำเจ เช่น อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู รูปครึ่งวงกลม หรือ เข้ากลุ่มเป็นวงกลม ได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
5. ให้นักเรียนที่นั่งทุกจุดอ่านกระดานดำได้ชัดเจน
6. แถวหน้าของโต๊ะเรียนควรอยู่ห่างจากกระดานดำพอสมควร ไม่น้อยกว่า 3 เมตร ไม่ควรจัดโต๊ะติดกระดานดำมากเกินไป ทำให้นักเรียนต้องแหงนมองกระดานดำ  และหายใจเอาฝุ่นชอล์กเข้าไปมาก ทำให้เสียสุขภาพ
การจัดโต๊ะครู
1. ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้องก็ได้ งานวิจัยบางเรื่องเสนอแนะให้จัดโต๊ะครูไว้ด้านหลังห้องเพื่อให้มองเห็นนักเรียนได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะครูนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดที่นั่งของนักเรียนด้วย
2. ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งบนโต๊ะและในลิ้นชักโต๊ะ เพื่อสะดวกต่อการทำงานของครู และการวางสมุดงานของนักเรียน ตลอดจนเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่นักเรียน

การจัดป้ายนิเทศ ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียน ส่วนใหญ่จะติดไว้ที่ข้างกระดาน
1. จัดตกแต่งออกแบบให้สวยงาม น่าดู สร้างความสนใจให้แกนักเรียน
2. จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน อาจใช้ติดสรุปบทเรียน ทบทวนบทเรียน หรือเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน
3. จัดให้ใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ที่นักเรียนเรียนและควรรู้
4. จัดติดผลงานของนักเรียนและแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนจะเป็นการให้แรงจูงใจที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง
การจัดสภาพห้องเรียน
1.  มีอากาศถ่ายเทได้ดี มีหน้าต่างพอเพียง และมีประตูเข้าออกได้สะดวก
2. มีแสงสว่างพอเหมาะ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนอ่านหนังสือได้ชัดเจน เพื่อเป็นการถนอมสายตา ควรใช้ไฟฟ้าช่วย ถ้ามีแสงสว่างน้อยเกินไป
3. ปราศจากสิ่งรบกวนต่าง ๆ เช่น เสียง กลิ่น ควัน ฝุ่น ฯลฯ
4. มีความสะอาด โดยฝึกให้นักเรียนรับผิดชอบช่วยกันเก็บกวาด เช็ดถู เป็นการปลูกฝังนิสัยรักความสะอาด และฝึกการทำงานร่วมกัน
การจัดมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน
1. มุมหนังสือ ควรมีไว้เพื่อฝึกนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้นักเรียนอ่านคล่อง ส่งเสริม การค้นคว้าหาความรู้ และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ครูควรหาหนังสือหลาย ๆ ประเภท ที่มีความยากง่าย เหมาะสมกับวัยของนักเรียนมาให้อ่าน และควรหาหนังสือชุดใหม่มาเปลี่ยนบ่อย ๆ การจัดมุมหนังสือควรจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อสะดวกต่อการหยิบอ่าน
2. มุมเสริมความรู้กลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ ควรจัดไว้ให้น่าสนใจ ช่วยเสรมความรู้ ทบทวนความรู้ เช่น มุมภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา มุมความรู้ข่าว เหตุการณ์ ฯลฯ
3. มุมแสดงผลงานของนักเรียน ครูควรติดบนป้ายนิเทศ แขวนหรือจัดวางไว้บนโต๊ะ เพื่อให้นักเรียนเกิดความภูมิใจในความสำเร็จ และมีกำลังใจในการเรียนต่อไป อีกทั้งยังสามารถแก้ไขพัฒนาผลงานของนักเรียนให้ดีขึ้นโดยลำดับได้อีกด้วย
4. ตู้เก็บสื่อการเรียนการสอน เช่น บัตรคำ แผนภูมิ ภาพพลิก กระดาษ สี กาว ฯลฯ ควรจัดไว้ให้เป็นระเบียบ เป็นสัดส่วน สะดวกต่อการหยิบใช้ อุปกรณ์ชิ้นใดที่เก่าเกินไปหรือไม่ใช้แล้วไม่ควรเก็บไว้ในตู้ให้ดูรกรุงรัง
5. การประดับตกแต่งห้องเรียน ครูส่วนใหญ่มักนิยมประดับตกแต่งห้องเรียนด้วยสิ่งต่าง ๆ เช่น ม่าน มู่ลี่ ภาพ ดอกไม้ คำขวัญ สุภาษิต ควรตกแต่งพอเหมาะไม่ให้ดูรกรุงรัง สีสันที่ใช้ไม่ควรฉูดฉาด หรือใช้สีสะท้นแสง อาจทำให้นักเรียนเสียสายตาได้ การประดับตกแต่งห้องเรียน ควรคำนึงถึงหลักความเรียบง่าย เป็นระเบียบ ประหยัด มุ่งประโยชน์ และสวยงาม
6. มุมเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด ตลอดจนชั้นวางเครื่องมือเครื่องใช้ของนักเรียน เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้ำ กล่องอาหาร ปิ่นโต ฯลฯ ควรจัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบ และหมั่นเช็ดถูให้สะอาดเสมอ

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 8

ครูมืออาชีพในอุมคติด
                ครูอาชีพ” คือ ครูที่มีความรู้ ความสามารถ ความเมตตากรุณา จิตวิญญาณของความเป็นครูในการอบรมสั่งสอนนักเรียนอย่างสุดความสามารถ โดยไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย
ครูมืออาชีพ”   ต้องมีลักษณะพื้นฐานในตน   3   ประการ ต่อไปนี้
1. ครูต้องมี   ฉันทะ   ต่ออาชีพครูเป็นพื้นฐาน
2. ครูต้องมีความ   เมตตา ต่อเด็กและบุคคลรอบข้างเป็นพื้นฐาน
3. ครูต้องมีความเป็น   กัลยาณมิตร   พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ

ครูมืออาชีพ”   ต้องมีความสามารถ ต่อไปนี้
            1. สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ และการจัดระบบ ได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน  สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและสาระการเรียนรู้ที่สอน
             2. สามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล  เป็นกลุ่มและเป็นชั้น
             3.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ  ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้
            4.  พัฒนาความสัมพันธ์เชิงจรรยาบรรณ  บนพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้การยอมรับผู้เรียนทุกคน และคาดหวังจะได้รับการยอมรับจากผู้เรียน
            5.  มีความรู้ที่ทันสมัย  และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรอย่างกระตือรือร้น
            6.  เชื่อความสามารถในการเรียนของผู้เรียนทุกคน  คาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้และส่งความคาดหวังนี้ไปยังแต่ละบุคคล  โรงเรียนและชุมชน
            7.  กระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของตน
            8.  ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง  เข้าใจความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้


           สรุปคือ  ครูมืออาชีพต้องเน้นการสอนให้มีคุณภาพ  เพราะว่าคุณภาพการสอนของครูย่อมส่งผลต่อนักเรียน  ครูต้องมุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข



วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาค


1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นครูของแผ่นดิน  เราจะเห็นว่าท่านมีโครงการมากมายในการพัฒนาประเทศ   ท่านได้ทำในสิ่งที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้และมีคุณค่ามากมาย เช่น โครงการแก้มลิง เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นต้น  ซึ่งเราจะเห็นว่าการที่พระองค์ได้เสด็จไปที่ไหนแล้วที่นั่นก็จะมีการพัฒนา พระองค์ท่านพัฒนาผืนแผ่นดินของเราอยู่ตลอดเวลา
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
                การเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องอาศัยการลงมือปฏิบัติจริง  และความรู้นั้นมีอยู่รอบตัวเราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต  ทุกที่ ทุกเวลา ในฐานะครูนั้นจะต้องรู้จริงและมีความรู้ที่กว้างขวางเพื่อจะนำมาถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้ทราบ  สมควรอย่างยิ่งที่เราจะต้องแสวงหาความรู้อยู่ตลอด  เนื่องจากการศึกษานั้นสำคัญต่อความเจริญของประเทศ
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
ในการเรียนการสอนครูจะต้องเป็นผู้ชี้แนะปัญหา  แล้วให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  พร้อมทั้งควรสอดแทรกคุณธรรมเข้าไปด้วย
               

บทความที่ 3
วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบส์     THE STEVE JOBS WAY
    ข้อสรุปที่ได้จากบทความ

      สตีฟ จ๊อบส์ คือ คนที่การศึกษาอย่างเป็นทางการไม่สูงนักแต่ฉลาดและน่าสนใจเขาได้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นจากมันสมองอัญชาญฉลาดของเขาสิ่งที่สร้างนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากปาฏิหาริย์ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากมันสมองและสองมือของมนุษย์ที่ผ่านกระบวนการฝึก ศึกษา พัฒนา และใช้ปัญญา” กว่าเขาจะมาถึงวันนี้เข้าต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆๆมากมายแต่ก็สามารถพ้นผ่านมาได้จนได้ จนกลายเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 7

1.วิชาที่สอนคือวิชาเศรฐศาสตร์(เรื่องลดโลกร้อน สู้ความพอเพียง)
         1.1 ผู้สอน ชื่อ อ.จุลดิษฐ์  วิทยาคม
          1.2 ระดับชั้นที่สอน มัธยมศึกษาตอนปลาย
2.  เรื่องที่ใช้สอนคือเรื่องลดโลกร้อน สู้ความปลอดภัย
            เนื้อหาที่สอนอาจารย์จะสอนให้นักเรียนช่วยกันลดโลกร้อน โดยการจัดกิจกรรมกันในห้องเรียน แต่ก่อนทำกิจกรรมอาจารย์ก็นำเข้าบทเรียนด้วยการซักถามนักเรียนในห้อง เพื่อทคี่จะให้นักเรียนมีความสนใจและมีส่วนร่วมทุกคน แต่ละคนก็ต่างตอบคำถามของอาจารย์อย่างสนุกสนานเพราะเรื่องที่เรียนเป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน
3 .กิจกรรมในการสอน
       กิจกรรมมีหลากหลายกิจกรรม คือกิจกรรมนาฬิกาพลังงาน  กิจกรรมแกะรอยผลิตภัณฑ์ ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้ ฉลาดตัดสินใจ ด้วย LCA และนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล และนำความรู้ที่ได้นำมาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างฉลาด สุดท้าย ให้นักเรียนสรุปความรู้ต่าง ๆ ที่ได้ และนำมาเสนอ
4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน
          บรรยากาศในห้องเรียนจะเป็นแบบสบายๆภายในห้องเรียนไม่แออัดสะดวกแก่การทำกิจกรรมและอาจารย์ผู้สอนเป็นกันเอง ทำให้นักเรียนมีความสนใจ และกล้าที่จะถามหรือทำกิจกรรม การที่นักเรียนและอาจารย์ผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้น
กิจกรรมที่  6